ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | ผศ.ดร.อโนดาษ์ รัชเวชย์ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | สิทธิบัตรการประดิษฐ์ |
เลขที่คำขอ | 1801001117 |
วันที่ยื่นคำขอ | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
สถานะ | อยู่ระหว่างการขอรับจดทะเบียนหรือจดแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | - |
รายละเอียดผลงาน | ได้ทำการสกัดสารกลูโคแมนแนนจากหัวบุกที่รับประทานได้ โดยใช้เอทานอลร้อยละ 65 โดยปริมาตร ในปริมาตรที่เป็น 1.5 เท่าของน้ำหนักบุกสดเพื่อจะสกัดในครั้งแรกและ ใช้เอทานอลร้อยละ 95 โดยปริมาตร โดยมีบริมาตรเป็น 3 เท่าของน้ำหนักบุกสด เพื่อจะสกัดเป็นครั้งที่สอง พร้อมเติมโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 20 มิลลิกรัม ต่อร้อยละ 100 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรของสารละลาย โดยนำสารละลายที่ผ่านการสกัดทั้งสองครั้ง รวมถึงสารละลายที่ผ่านการปั่นเหวี่ยง กรอง และล้างตะกอน นำไปอบที่ 65 "C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง จนได้ ผงบุกสกัด จากนั้นนำผงบุกที่สกัดแล้วร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ มาคนเป็นเวลา 3 ชั่วโมง นำสารละลายไปปั่นเหวี่ยงอีกครั้ง และทำการกรอง นำเอาส่วนใสมาเดิมสารกลีเซอรอล ซึ่งเป็นพลาสติไซอร์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.2- 0.4 โดยปริมาตรของสารละลายหัวบุก แล้วปล่อยให้ขึ้นรูปเป็นฟิล์ม โดยการเท สารละลายบุกลงในเพลท แล้วนำไปอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 "C นาน 24 ชั่วโมง จะได้แผ่นฟิล์ม ส่วนในการขึ้นรูปฟิล์มเป็นบรรจุภัณฑ์ จะใช้ยางมะตูมเป็นตัวประสาน ใช้บรรจุเครื่องปรุงรส และ รับประทานพร้อมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ เมื่อใส่น้ำร้อนต้มบะหมี่สำเร็จรูปพร้อมเครื่องปรุงรสและบรรรรจุภัณฑ์ ดังกล่าว โดยไม่ต้องฉีกทิ้งเป็นขยะ หรือนำไปห่อหุ้มผลไม้ ซึ่งเป็นขยะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th