ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นาย ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท, นาย ไพฑูรย์ เหล่าดี และนาย ณัฐภัทร ลีรพันธุ์ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | adiCET |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | อนุสิทธิบัตร |
เลขที่คำขอ | 2203003358 |
วันที่ยื่นคำขอ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 |
สถานะ | ได้รับจดทะเบียน |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | 23554 |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | 23 เมษายน พ.ศ. 2567 |
รายละเอียดผลงาน | สำหรับการประดิษฐ์เตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์โดยใช้วัสดุพรุนนี้ วัสดุที่ใช้ในการจัดทำเตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์โดยใช้วัสดุพรุน คือ เหล็กแผ่นกันสนิมที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด โดยมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ขนาด 100 ลิตร สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ 1) ชั้นบรรจุเชื้อเพลิง 2) ชั้นปฏิกิริยาเผาไหม้ และ3) ชั้นฐานขาตั้งของเตาชีวมวล โดยหลักการทำงานของการประดิษฐ์นี้ คือ ส่วนที่หนึ่งเชื้อเพลิงถูกเติมจากส่วนบนของชั้นบรรจุเชื้อเพลิง ด้วยการเปิดฝาปิดด้านบน ส่วนของฝาปิดด้านบนมีที่ยึดล๊อคให้ฝาปิดมิดชิดยึดติดกับเตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์ มีช่องสำหรับจุดไฟในตำแหน่งด้านข้างส่วนล่างชั้นบรรจุเชื้อเพลิง ส่วนที่สอง ชั้นปฏิกิริยาเผาไหม้สามารถแบบออกเป็นชั้นเรียงซ้อนกันภายใน ได้แก่ ห้องเผาไหม้ ห้องบรรจุวัสดุพรุน และชั้นชนวนกันความร้อน ตามลำดับ ส่วนที่สาม ชั้นฐานขาตั้งของเตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์โดยใช้วัสดุพรุนมีทั้งหมด 4 ขา ด้านล่างบริเวณก้นของเตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์โดยใช้วัสดุพรุนจะมีช่องสำหรับถ่ายขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้ออกทิ้ง บริเวณปากท่อจะมีฝาปิดมิดชิด และช่องสำหรับถ่ายเทวัสดุพรุนที่เหลือจากการอุ่นอากาศออกทิ้ง ณ บริเวณปากท่อจะมีฝาปิดมิดชิดเช่นกัน อากาศที่ป้อนเป้าสู่เตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์ด้วยพัดลมเป่าอากาศ ซึ่งปริมาณอากาศถูกป้อนโดยท่อนำอากาศภายในห้องบรรจุวัสดุพรุน ทั้งนี้อากาศถูกป้อนจากด้านล่างของห้องวัสดุพรุนไหลสู่ด้านบน วัสดุพรุนที่นำมาใช้ มีขายตามท้องตลาด เป็นวัสดุที่ทำจากลูกบดดินเผาเนื้ออะลูมิน่ามีคุณสมบัติไม่เหนียวแต่มีความแข็ง และความทนไฟสูง |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th