ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Intellectual property and technology, Chiang Mai Rajabhat University

สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายและต้นทุนต่ำ (สูตร CMRU1)

เผยแพร่ 2567-06-10
ปรับปรุง 2568-01-31
การดู 42 ครั้ง
โดย Admin
แชร์ 0
ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ นายกิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก สถาบันวิจัยและพัฒนา
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประเภทคำขอรับ อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 2303001098
วันที่ยื่นคำขอ 19 เมษายน พ.ศ. 2566
สถานะ อยู่ระหว่างการขอรับจดทะเบียนหรือจดแจ้งข้อมูล
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล -
รายละเอียดผลงาน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำเอา เซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะส่วนต่างๆ ของพืช มาเลี้ยงบน อาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น อุณหภูมิ และแสงสว่าง เป็นต้น ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยือพืชคือการเพิ่มจำนวนต้นพืชได้เป็นทวีคูณในระยะเวลาอันสั้น และต้นที่ได้ จากการขยายพันธุ์จะมีลักษณะเหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ นอกจากนี้ยังได้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรคอีกด้วย จึง เป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้ในการผลิตพันธุ์พืชจำนวนมาก รวมถึงใช้ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอีกด้วย แต่อาหาร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ อาหารสูตร Murashige and Skoog (MS, 1962) ซึ่งต้องใช้ สารเคมีหลายชนิด สารเคมีบางชนิดไม่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทยจึงมีราคาต้นทุนสูง และมีขั้นตอนการ เตรียมที่ยุ่งยาก ดังนั้นจึงมีพัฒนาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายและต้นทุนต่ำ “สูตร CMRU1” ที่ สามารถเตรียมได้ง่ายด้วยจำนวนสารเคมีที่น้อยกว่า ราคาถุกกว่า และยังมีประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ ได้ สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายและต้นทุนต่ำ สูตร CMRU1 เป็นสูตรอาหารที่ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุเหล็ก และกรดอะมิโน ซึ่งเพียงพอสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ หลากหลายชนิด สามารถเติมสารอื่นๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยง เช่น วิตามิน สารควบคุมการ เจริญเติบโตของพืช สารก่อกลายพันธุ์ หรือสารตั้งต้น (Precursor) ต่างๆ เป็นต้น โดยสูตรอาหารดังกล่าวได้มี การวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อพืชมาแล้วหลากหลายชนิด
รูปภาพผลงาน

ติดต่อสอบถาม ::

งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180

โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441

E-mail : research@g.cmru.ac.th