ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นาย เสรี ปานซาง และนาย สุกิจ ทองแบน |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | อนุสิทธิบัตร |
เลขที่คำขอ | 2303001285 |
วันที่ยื่นคำขอ | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 |
สถานะ | อยู่ระหว่างการขอรับจดทะเบียนหรือจดแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | - |
รายละเอียดผลงาน | เครื่องปั่นเกลียวเส้นด้ายจากใยกัญชงขนาดพกพาโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน ถูกพัฒนาขึ้นจากการประยุกต์เครื่องปั่นด้ายแบบดั้งเดิมแบบที่ใช้มือหมุนหรือถีบจักร โดยถูกนำมาใช้แทนการปั่นเกลียวเส้นใยกัญชงแบบดั้งเดิม มีการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องโดยใช้วัสดุอลูมิเนียมโปรไฟล์ ทำเป็นฐานและเสาหลักที่แข็งแรงรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบขับเคลื่อนใหม่โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดเล็กเป็นต้นกำลัง ระบบส่งกำลังกระทำผ่านมู่เลย์ขับ สายพานไทม์มิง ไปยังมู่เลย์ตาม ที่เชื่อมกับแกนเพลากลวงของโครงหมุนกระสวยปั่นที่สามารถควบคุมความเร็วรอบได้ด้วยการปรับแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบปรับแรงดันได้ ให้กับมอเตอร์เพื่อให้ได้ความเร็วรอบการปั่นเกลียวตามต้องการ และสามารถควบคุมการเปิด-ปิดมอเตอร์ได้ด้วยสวิตช์เท้า การควบคุมการปั่นเกลียวเส้นใยและการม้วนเก็บเส้นใย ใช้ระบบครัชเชือกที่ทำงานด้วยแรงเสียดทาน ควบคุมได้โดยผู้ใช้ดึงหรือผ่อนเส้นใยกัญชงดิบ กล่าวคือเมื่อดึงเส้นใยกัญชงดิบให้ตึงก็จะมีการตีเกลียวเส้นใย และเมื่อผ่อนเส้นใยกัญชงดิบหลอดเก็บด้ายจะดึงเส้นใยที่ปั่นเกลียวแล้วม้วนเข้าเก็บในหลอดเก็บด้ายให้ หรือหากดึงให้ตึงในระดับพอดีเครื่องปั่นเกลียวจะปั่นเกลียวเส้นใยกัญชงและม้วนเก็บในเวลาเดียวกัน เครื่องปั่นเกลียวเส้นใยกัญชงมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถพกพาได้ง่าย สะดวกต่อการทำงาน มีความรวดเร็วในการผลิต ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความชำนาญสูงและสามารถควบคุมอัตราเกลียวต่อความ 15 ยาวได้ตามต้องการ |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th