ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นาย สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี และนางสาว สิตานันท์ โกวฤทธิ์ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | adiCET |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | อนุสิทธิบัตร |
เลขที่คำขอ | 2403001511 |
วันที่ยื่นคำขอ | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 |
สถานะ | อยู่ระหว่างการขอรับจดทะเบียนหรือจดแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | - |
รายละเอียดผลงาน | การประดิษฐ์นี้เป็นกรรมวิธีการผลิตเนื้ออะโวคาโดแห้งสำหรับการสกัดน้ำมันโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานร่วมกับการบดบังแสงแดด โดยนำอะโวคาโดสดที่ได้มาจากแหล่งผลิตได้รับการแช่เย็นปอกเปลือก และตัดแต่งเนื้ออะโวคาโดให้ได้รูปทรงตามต้องการ นำเนื้ออะโวคาโดที่ได้จัดเรียงลงในถาดและอบแห้งด้วยตู้อบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานร่วมกับการบดบังแสงแดด ระหว่างการอบแห้งความชื้นและอุณหภูมิได้รับการควบคุมให้เหมาะสม เนื้ออะโวคาโดได้รับการอบแห้งจนมีความชื้นมีความชื้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผักและผลไม้ (มผช. 136/2558) ระยะเวลาในการอบแห้งขึ้นอยู่กับรูปทรง และความหนาของเนื้ออะโวคาโด ตู้อบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานร่วมกับการบดบังแสงแดดได้รับการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิโดยใช้เซนเซอร์ ระบบควบคุมจะปรับอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้อบแห้งให้คงที่ตามที่ตั้งไว้ เมื่อมีความชื้นสูง พัดลมระบายอากาศจะทำงานเพื่อระบายความชื้นออก เมื่ออุณหภูมิสูง พัดลมจะทำงานเพื่อระบายความร้อนออก เมื่ออุณหภูมิต่ำ ระบบจะจ่ายความร้อนจากแหล่งพลังงานเสริม เช่น ไฟฟ้า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซชีวภาพ แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในตู้จะได้รับการควบคุมโดยใช้วัสดุบดบังแสง วัสดุบดบังแสงแดดช่วยลดปริมาณแสงที่ส่องเข้ามาในตู้อบแห้งช่วยป้องกันไม่ให้สีของเนื้ออะโวคาโดถูกทำลาย หลังการอบแห้งแต่ละวันเนื้ออะโวคาโดแห้งถูกปล่อยให้เย็นลง จัดเก็บใน ถุงซีล เพื่อป้องกันการดูดความชื้นจากบรรยากาศ และนำออกมาตากแดดอีกครั้งในวันถัดไป เมื่อสิ้นสุดการอบแห้งปล่อยให้เนื้ออะโวคาโดแห้งเย็นลง จัดเก็บในถุงซีล และเก็บรักษาในที่แห้ง อุณหภูมิห้อง และหลีกเลี่ยงแสงแดด เนื้ออะโวคาโดแห้งที่ได้มีความชื้นและปริมาณน้ำอิสนะเป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อนำมาสกัดน้ำมันได้น้ำมันที่มีปริมาณน้ำอิสระ และค่ามเป็นกรดเป็นไปตามมาตรฐาน |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th