ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นายชูสิทธิ์ ชูชาติ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | บัณฑิตวิทยาลัย |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | ลิขสิทธิ์ |
เลขที่คำขอ | 441984 |
วันที่ยื่นคำขอ | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 |
สถานะ | ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | ว.052204 |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567 |
รายละเอียดผลงาน | การสร้างสรรค์ผลงานพ่อค้าวัวต่าง เป็นพ่อค้าท้องถิ่น ชาวนา ชาวสวน ในชนบท ซึ่งค้าขายหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยใช้วัวบรรทุกสินค้า (ต่างนำผลผลิตของท้องถิ่นออกไปแลกเปลี่ยน หรือขายในเมืองซึ่งห่างไกล ในสมัยยังไม่มีถนน รถยนต์ ถึงหมู่บ้านชนบท) นอกจากการค้าขายระหว่างหมู่บ้านกับเมืองแล้ว พ่อค้าวัวต่าง และพ่อค้าม้าต่าง ยังเดินทางไกลแรมเดือนข้ามประเทศไทย ไปยังเมียนมาร์ (พม่า) จีน ลาว การสร้างสรรค์ผลงานเกิดจากประสบการณ์ตรงที่เคยเห็นพ่อค้าวัวต่างในภาคเหนือตั้งแต่ พ.ศ. 2515 และได้รวบรวมข้อมูลการค้าขาย จากการสังเกต การสัมภาษณ์พ่อค้าวัวต่างโดยตรงประมาณ 100 คน ได้ลงพื้นที่ตามเส้นทางของพ่อค้าวัวต่าง และศึกษาเอกสารชั้นต้นจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และการบันทึกของชาวต่างชาติผู้ร่วมสมัย ได้ใช้วิธีการวิจัยทางประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นจากประสบการณ์ตรง ความสำคัญของพ่อค้าวัวต่างในชนบท คือ บ่อเกิดของระบบทุนนิยม ในชนบทในการแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างสินค้าในท้องถิ่นกับสินค้าจากผลผลิตของระบบทุนนิยม หรือสินค้าอุตสาหกรรม จนทำให้สังคมชนบทสูญเสียระบบการผลิตแบบเลี้ยงตัวเอง เข้าสู่ระบบการตลาด นอกจากนี้เส้นทางการค้าวัวต่างซึ่งผ่านภูมิประเทศกันดาร เป็นระบบนิเวศป่าและภูเขา พัฒนาเป็นทางเกวียน ถนน รถยนต์ ในปัจจุบัน เช่น เส้นทางสายเศรษฐกิจ R3A (ไทย-ลาว-จีน) ถนน R3B (ไทย-พม่า-จีน) พ่อค้าวัวต่าง เป็นพ่อค้าชาวนาที่มีประสบการณ์มากกว่าชาวนาทั่วไป หลังจากเลิกค้าขายแล้ว พ่อค้าวัวต่าง ส่วนมากได้รับการยกย่องเป็นผู้นำหมู่บ้าน แต่ทำไมพ่อค้าวัวต่างไม่พัฒนาตัวเองเป็นพ่อค้าในเมือง เมื่อมีการพัฒนาการคมนาคมทางบก นี้คือแรงบันดาลใจ |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th