ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Intellectual property and technology, Chiang Mai Rajabhat University

การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และจัดสรรน้ำทางการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่ 2567-06-10
ปรับปรุง 2568-02-14
การดู 87 ครั้ง
โดย Admin
แชร์ 0
ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ นายชูสิทธิ์ ชูชาติ
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก บัณฑิตวิทยาลัย
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประเภทคำขอรับ ลิขสิทธิ์
เลขที่คำขอ 441985
วันที่ยื่นคำขอ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
สถานะ ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ ว.052205
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567
รายละเอียดผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานสร้างมาจากประสบการณ์จริง ในการสัมผัสกับระบบเหมือง ฝาย ของล้านนา มาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 และได้ศึกษาเอกสาร กฎหมายเกี่ยวกับ เหมือง ฝาย ของล้านนา ก็เกิดความสนใจ และได้รวบรวมข้อมูลเรื่องนี้ โดยการ ลงสำรวจภูมิประเทศ พื้นที่จริง สัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับเหมือง ฝาย สังเกตการสร้างเหมือง ฝาย และศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเหมือง ฝาย ตั้งแต่กฎหมายต่างๆ ของพระเจ้ามังราย แล้วรวบรวมเรื่องนี้ขึ้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการลงพื้นที่จริง แรงบันดาลใจ ระบบเหมือง ฝาย ในล้านนา ได้มีหลักฐานการสร้างเหมือง ฝาย มาตั้งแต่ พ.ศ.1181 หรือประมาณ 1,300 ปีล่วงมาแล้ว การสร้างเมืองต้องควบคู่กบัการสร้างเหมือง ฝาย เพื่อใช้น้ำทำการเพาะปลูก ทำสวน ทำนา หน้าที่ในการสร้างเหมือง ฝาย ในสมัยก่อน พ.ศ.2475 เป็นหน้าที่ของชาวบ้านทุกคนที่ต้องร่วมกันสร้างเหมือง ฝาย โดยมีกฎหมายและระเบียบของรับควบคุม เนื่องจากที่ดินทั้งหมดในแผ่นดินเป็นของรัฐ ชาวบ้านเป็นผู้ถือครอง ทำกิน แต่ขาดกรรมสิทธิ์ ดังนั้นชาวบ้าน หรือ ไพร่ ผู้ร่วมกันสร้างเหมือง ฝาย ต้องแบ่งผลผลิตให้แก่รัฐตามกฎหมาย ผลผลิตที่ต้องส่งส่วยให้แก่รัฐ ทำสัญญา คือ ข้าว เพราะข้าว คือ ปัจจัยของความมั่งคั่งของรัฐ ในยามสงบและสงคราม ความสัมพันธ์ทางการผลิตระหว่างระบบเหมือง ฝาย ชาวนา หรือไพร่ กับรัฐ หรือเจ้าหลวง(rพระเจ้าแผ่นดิน) ไม่ปรากฏหลักฐานของความขัดแย้ง ระหว่างไพร่กับเจ้าหลวง ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบบเก็บภาษีแบบใหม่ผ่านเจ้าภาษีนายอากร ในพ.ศ. 2427 และเกิดกบฏต่อต้านเจ้าภาษีนายอากร (คนจีน) ในเชียงใหม่ พ.ศ. 2432 หลังจาก พ.ศ. 2471 รัฐบาลกรุงเทพฯ ได้เริ่มสร้างระบบชลประทานในล้านนา แต่ขยายตัวอย่างช้าๆ ระบบเมือง ฝาย แบบโบราณ หรือการชลประทานราษฎร์ ก็ยังดำเนินต่อเนื่องตามแบบเดิม และลดบทบาทลงเมื่อกรมชลประทานพัฒนาระบบเหมือง ฝาย แล้วจัดการบริหารโดยกรมชลประทาน หน้าที่ของชาวนา ชาวสวน ในการช่วยพัฒนาเหมืองฝายก็สิ้นสุดลง กลับกลายเป็นการทำหน้าที่โดยรัฐ นี้คือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เรื่อง การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และจัดสรรน้ำทางการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
รูปภาพผลงาน

ติดต่อสอบถาม ::

งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180

โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441

E-mail : research@g.cmru.ac.th