ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นางสาววชิรา เครือคำอ้าย และนายชวลิต ขอดศิริ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | คณะครุศาสตร์ |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | ลิขสิทธิ์ |
เลขที่คำขอ | 443092 |
วันที่ยื่นคำขอ | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567 |
สถานะ | ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | ว.052393 |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 |
รายละเอียดผลงาน | รูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดับเบิ้ลพีแอลซีเอ พลัส (PPLCA Plus) โมเดล” มีแรงบันดาลใจมาจาก การเห็นความเปลี่ยนแปลงของการศึกษาที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การแพทย์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการศึกษา ที่สำคัญคือการพัฒนาผู้เรียน ที่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ของครูจึงเป็นภารกิจสำคัญ เพราะครูที่มีคุณภาพย่อมก่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านวิชาการและส่งผลดีต่อตัวผู้เรียนตามมา โดยกระบวนการสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน และปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายดังกล่าวนั้นคือ การนิเทศการศึกษา โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของรัชกาลที่ 9 ดังนี้“ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู” “ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทําร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี ซึ่งจากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวได้น้อมนำมาสู่การปฏิบัติอยู่เป็นรูปธรรม และมีความเชื่อที่ว่า ครูทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาในระดับสูงสุดได้อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าได้รับการช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แนะ สนับสนุนที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับลักษณะและระดับความสามารถในการพัฒนาครูแต่ละคน ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง ที่เหมาะสมจะสามารถนำไปใช้เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ของครูประสบผลสำเร็จ และนำไปสู่การพัฒน าศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th