ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Intellectual property and technology, Chiang Mai Rajabhat University

ของดีหลังพื้นที่ “สะลวง-ขี้เหล็ก”

เผยแพร่ 2567-12-13
ปรับปรุง 2568-06-10
การดู 21 ครั้ง
โดย Admin
แชร์ 0
ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ นายชูสิทธิ์ ชูชาติ
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก บัณฑิตวิทยาลัย
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประเภทคำขอรับ ลิขสิทธิ์
เลขที่คำขอ 451354
วันที่ยื่นคำขอ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567
สถานะ ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ ว.053740
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567
รายละเอียดผลงาน พื้นที่ตำบลสะลวง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม หรือแขวงสะลวงในอดีต และตำบลสันป่ายาง ในอำเภอแม่แตง ซึ่งอยู่รายรอบมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ริมอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนดังกล่าวได้มีบทบาทสำคัญต่อด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรมต่อนครเชียงใหม่ ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาในอดีตจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และวิถีชีวิตที่ถ่ายทอดในเรื่องวรรณกรรมมุขปาฐะ ปฎิมากรรม วรรณกรรม จิตรกรรมสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมหลายอย่างร้อยเรียงประกอบเป็นหลักฐาน ตัวอย่างเรื่องราวเก่าแก่ที่สุดก่อนประวัติศาสตร์ คือ ตำนานและหลักฐานของขุนลัวะ วิลังคะเจ้าเมืองระมิงค์นครผู้พ่ายทั้งศึกรบและศึกรักต่อพระนางจามเทวี ต้องหลบลี้หนีหายมาสร้างชุมชนซ่อนตัวอยู่ในเนินเขาและป่าลึกพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งผู้เขียนค้นพบว่าน่าจะเป็นพระพุทธบาทเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และมีถึง 4 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์วัดหนองก๋าย มีพระพุทธรูปโบราณอายุมากกว่า 1,300 ปีและมีจิตรกรรมฝาผนังสะท้อนภาพการดำรงชีวิตของชาวบ้านในเขตตำบลสันป่ายาง และชาวบ้านในตำบลนี้ได้เริ่มต้นบุกเบิกทำสวนเมี่ยงในเขตภูเขาวัดพระพุทธบาทสี่รอยและพัฒนาเป็นชุมชน ผลิตและค้าขายเมี่ยงในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักฐานปรากฏเด่นชัดจากเอกสารโบราณในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เส้นทางถนนหลังวิทยาเขตแม่ริมยังเป็นเส้นทางพ่อค้าวัวต่าง ระหว่างแม่ฮ่องสอนกับเชียงใหม่ก่อนการพัฒนาการคมนาคมทางบกเส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนในระบบ Barter systemและระบบเงินตราเกี่ยวกับสินค้า ข้าว เกลือ อาหารทะเล เมี่ยง และผลผลิตจากภาคกลางซึ่งลำเลียงขึ้นมาทางเรือด้วยเรือหางแมงป่อง หรือเรือแม่มะในอดีตนอกจากนี้ในเขตพื้นที่สะลวง ขี้เหล็กยังมีอุตสาหกรรมในครัวเรือน การผลิตขนมจีนเส้นหมักที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ และระบบการเกษตรในมิติเศรษฐกิจพอเพียงของ “แม่ครูประทุม สุริยา”และสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย นี้คือแรงบันดาลใจให้ค้นคว้าและเขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลได้สร้าง Soft Power หรือนำไปต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป
รูปภาพผลงาน

ติดต่อสอบถาม ::

งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180

โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441

E-mail : research@g.cmru.ac.th