ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบ / ผู้สร้างสรรค์ | นายชูสิทธิ์ ชูชาติ และนายโฆษิต ไชยประสิทธิ์ |
หน่วยงานต้นสังกัดหลัก | บัณฑิตวิทยาลัย |
ผู้ทรงสิทธิ/เจ้าของ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ประเภทคำขอรับ | ลิขสิทธิ์ |
เลขที่คำขอ | 451355 |
วันที่ยื่นคำขอ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
สถานะ | ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล |
เลขที่จดทะเบียน/ทะเบียนข้อมูลเลขที่ | ว.053942 |
วันที่ได้รับการจดทะเบียน/รับรองการแจ้งข้อมูล | 23 มกราคม พ.ศ. 2568 |
รายละเอียดผลงาน | คนในภาคเหนือตอนบน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในอดีต เรียกต้นชา (ชาป่า) ว่าต้นเมี่ยง และนำใบเมี่ยงมานึ่งแล้วหมัก มัดรวมกันเป็นกำ บรรจุโอ่งเก็บไว้อย่างน้อยประมาณ 2 เดือน ก็นำไปอม หรือเคี้ยว คล้ายๆกับคนไทยภาคกลางกินหมาก หรือเคี้ยวหมาก เมี่ยง เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา มาแต่โบราณและสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากคนไทยในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย วัฒนธรรมอมเมี่ยง หรือเคี้ยวเมี่ยง ในการพลปะสังสรรค์ หรือในงานพิธีกรรมต่าง ๆล้วนใช้เมี่ยงเป็นของว่างเพื่อรับแขก วัฒนธรรมเมี่ยง จึงเป็นอัตลักษณ์ของชาวล้านนา ในการดึงดูดคนและเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี เพลิดเพลินและสนุกสนาน เมี่ยง ยังเป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่นในระบบแลกของต่อของ (Barter system) ในอดีตจนกระทั่งระบบการตลาดในปัจจุบัน รายได้สำคัญอย่างหนึ่งของคนในท้องถิ่นพื้นที่สูง เกิดจากการผลิตเมี่ยง เมี่ยง เป็นชาป่าที่อาศัยร่มเงาของไม้ใหญ่ การปลูกปล่อยตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ย และเป็นพืชที่ป้องกันไฟป่า เพราะชาวบ้านต้องปกป้องสวนเมี่ยง เมี่ยง จึงเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทำสวนเมี่ยง คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้คือแรงบันดาลใจให้ศึกษาเรื่อง เมี่ยง |
รูปภาพผลงาน |
|
งานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2)
อาคารอำนวยการและบริหารกลาง
หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180
โทร: 053-412151 ต่อ 2221,2222 / 089-4348441
E-mail : research@g.cmru.ac.th